Terminal Block แตกต่างจาก Terminal ทั่วไปอย่างไร?

  การเดินสายไฟระหว่างอุปกรณ์นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยคำนึงถึงการต่อสาย จะไปนึกถึงพวกอุปกรณ์เครื่องมือวัด อุปกรณ์คอนโทรล หรือ PLC เป็นหลัก แต่การต่อสายไฟระหว่างอุปกรณ์ก็มีผลต่อหลาย ๆ อย่าง เช่น เดินสายไฟแล้วสายไฟหลวม ทำให้อุปกรณ์เกิดการอาร์คโดยเกิดประกายไฟ การเดินสายไฟที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง การเดินสายไฟที่เครื่องจักรมีการสั่นสะเทือน โดยการเลือกใช้เทอร์มินอลควรจะให้เหมาะสมกับการใช้งานของอุปกรณ์ หน้างานหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หลายท่านคงนึกถึงการต่อสายไฟแบบเก่าที่ใช้เทอร์มินอลทั่วไป เช่น การต่อสายไฟโดยใช้การบัดกรี การต่อสายโดยใช้ขั้วต่อแบบลูกเต๋า การต่อสายแบบใช้เทปพันสาย เป็นต้น ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ในการเดินสายไฟที่พบบ่อยก็คงหนีไม่พ้นสายไฟที่พันกัน สายไฟสลับตำแหน่งที่ควรจะเป็นและดูไม่เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสน
 
     แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีการต่อสายแบบใหม่เข้ามา นั่นคือการใช้ เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) มาแทน ซึ่งทำให้มีความสะดวกในการใช้งานและโดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับการต่อสายไฟแบบเดิม นับว่า เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) เป็นตัวช่วยสำคัญเลยทีเดียว ในการต่อสายไฟให้เป็นระเบียบ สะดวกและรวดเร็ว ในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์กรณีที่ระบบมีปัญหาที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) กันก่อน

     เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างสายไฟด้านหนึ่งเข้ากับสายไฟอีกด้านหนึ่ง หรือใช้เป็นจุดพักสายไฟเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์หรือเพื่อเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ สามารถตรวจสอบจุดที่มีปัญหาต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งเราสามารถเห็นการใช้งานของ Terminal Block ได้ เช่น ในตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้คอนโทรลปั๊มน้ำ ตู้เมนเบรกเกอร์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น และ Terminal Block กับ Terminal ทั่วไปแตกต่างกันอย่างไรนั้น เราจะขออธิบายให้เข้าใจกันง่าย ๆ ดังนี้
 
     ความแตกต่างระหว่าง Terminal Block กับ Terminal ทั่วไป
 
Terminal Block Terminal ทั่วไป
• สามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 1000 Vac/Vdc
• สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 130 ํC
• วัสดุฉนวนทำจากพลาสติกประเภทโพลีมาย ทนต่อความร้อนและไม่ติดไฟ
• ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง
• มีให้เลือกใช้งานแบบ Screw Type , Spring Type และ Push-in Type
   ซึ่งเหมาะกับงานที่มีการสั่นสะเทือน
• สามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้าได้ถึง  600 Vac/Vdc
• สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 55 ํC
• วัสดุทำจากพลาสติกทั่วไป กรณีเกิดประกายไฟ ติดไฟได้ง่าย
• มีขนาดใหญ่ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้ง
• มีให้เลือกใช้งานแบบ Screw Type

 

Terminal Block Terminal ทั่วไป


     จากที่เราได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง Terminal Block กับ Terminal ต่อสายไฟแบบทั่วไปกันไปแล้วนั้น ทำให้มองเห็นถึงประโยชน์และง่ายต่อการพิจารณาในการเลือกใช้งาน โดยเทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) แบ่งตามประเภทการใช้งานออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
     1. เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสกรู (Screw Type Terminal Block) เทอร์มินอลบล็อกชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก จะใช้การขันสกรูลงไปเพื่อบีบอัดรัดสายไฟให้แน่น เหมาะกับสภาพหน้างานที่ไม่มีการสั่นสะเทือน เนื่องจากจะทำให้น็อตที่ขันมีการคลายตัวได้ โดยเหมาะกับสายทุก ๆ ประเภท ตั้งแต่สายขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "สายคอนโทรล" ไปถึงสายเบอร์ใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า "สายเพาเวอร์" ตั้งแต่ขนาดสาย 0.5 mm2 ไปจนถึงขนาด 70 mm2 เป็นต้น


รูปแสดงลักษณะการเข้าสายของเทอร์มินอลบล็อกแบบขันสกรู (Screw Type Terminal Block)
 
     เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสกรู (Screw Type Terminal Block) ดังรูป

Terminal Block แบบสกรู
(แบบ 1 ชั้น) CBC-Series
Terminal Block แบบสกรู
(แบบ 2 ชั้น) DBC-Series
Terminal Block แบบสกรู
(แบบ 3 ชั้น) TLD-Series
Terminal Fuse
แบบสกรู SFR-Series
Earth Terminal (เทอร์มินอลกราวด์
แบบสกรู) TEO-Series


     2. เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสปริง (Spring Type Terminal Block) เทอร์มินอลบล็อกชนิดนี้ การเข้าสายแบบสปริงเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้งานในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่ายโดยไม่ต้องใช้ไขควงในการทำงาน สามารถเข้าสายได้ง่าย ทำให้รวดเร็วต่อการใช้งาน เหมาะสำหรับงานประเภท Vibration โดยการสั่นของเครื่องจักรถ้าเป็นเทอร์มินอลแบบสกรูมีโอกาสทำให้น็อตที่ขันมีการคลายตัวได้ โดยเทอร์มินอลแบบสปริงแคมป์รองรับกับการเข้าสายได้หลายขนาด ตั้งแต่ สาย 1.5 mm2 ไปจนถึงขนาด16 mm2 เป็นต้น


รูปแสดงลักษณะการเข้าสายของเทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง (Spring Clamp Push-in Terminal Block)
 
     เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสปริง (Spring Type Terminal Block) ดังรูป

Terminal Block
แบบสปริง (แบบ 1 ชั้น)
EFC-Series
Terminal Block
แบบสปริง (แบบ 2 ชั้น)
EFD-Series
Terminal Block
แบบสปริง (แบบ 3 ชั้น)
EFT-Series
Spring Clamp Earth Terminal
(เทอร์มินอลกราวด์แบบสปริง)
EFCE-Series
 
     นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมของเทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block Accessories) อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฝาปิดด้านข้างของเทอร์มินอล (End Plate), แผ่นกั้นแยกส่วนเทอร์มินอล (Partition), ตัวล็อกหัวท้ายของเทอร์มินอล (Stopper), ตัวเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอล (Jumper Bar), Marking Tag หรือ Label สำหรับการระบุชื่อของเทอร์มินอลนั้น ๆ ให้ง่ายต่อการ Wiring สายไฟ, การซ่อมบำรุงและอื่น ๆ อีกมากมาย
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Terminal Block
Visitors: 43,451