Pressure Transmitter คืออะไร? และข้อควรระวังในการติดตั้ง Pressure Transmitter
Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) สามารถวัดได้ทั้งของเหลวหรืออากาศ เช่น แก๊ส, นํ้ามัน, นํ้ามันไฮดรอลิก, น้ำของปั๊มนํ้า, ไอนํ้าในหม้อนํ้า (Boiler) เป็นต้น โดยมีหน่วยที่ใช้ในการวัดเป็น Bar, mbar, psi, Pa, kpa, mmHg เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้งาน Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรเลือกให้ถูกตามลักษณะการใช้งาน โดยทางเราได้นำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ การเลือกใช้ Pressure Transmitter ให้เหมาะสมกับงาน รวมถึง Pressure ประเภทต่าง ๆ เช่น Pressure Switch, Flush Diaphragm Pressure Transmitter, Melt Pressure Transmitter เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์วัดแรงดันและแปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Pressure Transmitter) มาใช้งานวัดแรงดัน (Pressure) กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อาหารและยา, เคมี, ยานยนต์ เป็นต้น เพื่อวัดและควบคุมแรงดันในระบบต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม
จากคุณสมบัติและรูปแบบต่าง ๆ ของ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) ข้างต้น ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานของ Pressure Transmitter รุ่น EPI 8287-Series ยี่ห้อ TRAFAG ต่อใช้งานร่วมกับ Digital Indicator รุ่น TIM-94N ดังนี้
จากรูป เป็นการแสดงการวัดแรงดันของเครื่อง Generator โดยใช้ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) รุ่น EPI 8287-Series ยี่ห้อ TRAFAG ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล Digital Indicator รุ่น TIM-94N เพื่อแสดงค่าแรงดันและ Alarm ในขณะที่มีแรงดันเกินตามค่าที่กำหนดไว้ โดยในการใช้งานอุปกรณ์วัดแรงดันและแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุตออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) หรือ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) ควรคำนึงถึงการติดตั้ง Pressure Transmitter ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีข้อควรระวังดังนี้
ข้อควรระวังในการติดตั้ง Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)
• ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้ง Pressure Transmitter บริเวณใกล้วาล์วที่มีการเปิด-ปิดแบบทันทีทันใด เพราะบริเวณดังกล่าวอาจทำให้หัวเซ็นเซอร์ของ Pressure Transmitter เสียหาย เนื่องจากเกิดแรงดันหรือแรงกระแทก Dynamic Pressure (Water Hammer)
• หากจำเป็นต้องใช้ Pressure Transmitter ในงานมีมีอุณหภูมิสูงควรต่อร่วมกับหัวเซ็นเซอร์ชนิด Syphon เพื่อทนต่อสภาพอุณหภูมิที่ค่อยข้างสูงได้
• ควรระบุเลือกย่านแรงดันสำหรับเผื่อการใช้งานประมาณ 25-50% เพื่อป้องกันการเสียหายที่เกิดจาก Shock Load
• สำหรับงาน Food Grade แนะนำให้ผู้ใช้งานเลือกวัสดุที่เป็น Stainless Steel 316 เพื่อป้องกันสนิม
ข้อดีของการเลือกใช้ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)
• มีย่านการวัดแรงดันที่หลากหลาย ทำให้สามารถเลือกให้เหมาะกับการใช้งานได้ตามความเหมาะสม
• มีรุ่นที่สามารถทนแรงดัน 3 เท่า และ 5 เท่า ของย่านแรงดันการใช้งาน ทำให้สามารถทนแรงดันหรือแรงกระแทก Dynamic Pressure (Water Hammer) ได้
• มีสัญญาณ Output ให้เลือกใช้งานได้ 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น
• ใช้งานง่าย ต่อสัญญาณเข้าร่วมกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น PLC, Controller, Digital Indicator ได้
การนำไปใช้งาน Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)
• Machine Tools
• Hydraulics
• Water Treatment
• Large Engines
• Shipbuilding
• Generator
ตัวอย่าง Application การประยุกต์ใช้ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) ในงานอุตสาหกรรม
Marine Scrubber Water Treatment | Success Story DPS | System Ceramics Ink Printer | Elevator Systems |