แนะนำรางเดินสายไฟในอาคารแบบลอย

  ปัจจุบันการค้นหาที่พักอาศัย อาทิ คอนโดมิเนียม, ทาวน์โฮม ฯลฯ ให้ตรงกับความต้องการเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องมีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน รวมถึงการสร้างบ้านให้ออกมาสมบูรณ์แบบเจ้าของบ้านจำเป็นต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การดีไซน์ภายนอกไปจนถึงจุดเล็กจุดน้อยภายในบ้าน โดยเฉพาะงานระบบไฟที่นอกจากจะต้องเรียบร้อยเพื่อความปลอดภัยของบ้าน, คอนโดมิเนียมและผู้อยู่อาศัยแล้ว รูปแบบงานเดินสายไฟภายในบ้านหรือคอนโดมิเนียม ยังมีส่วนเสริมความสวยงามและความปลอดภัยภายในบ้านอีกด้วย ซึ่งทางเลือกในการเดินสายไฟสำหรับคนสร้างบ้านจะมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ “เดินสายไฟแบบฝังผนัง และ เดินสายไฟแบบเดินลอย”  ซึ่งมีความหมายและข้อดีแตกต่างกันดังนี้

     การเดินสายไฟแบบฝัง คือ การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนังหรือฝ้าเพดานให้บังเเนวท่อร้อยสายไฟเอาไว้ ผนังบ้านจะดูเรียบไปทั้งผืนไม่มีแนวสายไฟ ไม่มีท่อร้อยสายไฟยึดบนผนังให้เห็น

     การเดินสายไฟแบบลอย คือ การเดินสายไฟให้เลื้อยแนบติดกับผนัง มี 2 แบบหลัก ๆ คือ แบบตีกิ๊บและแบบร้อยท่อ วิธีตีกิ๊บจะเดินสายไฟแบบเปิดให้เห็นสายไฟเป็นเส้น ๆ แนบไปกับผนัง สายไฟหักงอไปตามเสา ตามคาน แล้วเชื่อมต่อไปยังเต้ารับและเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนอีกรูปแบบแบบคือ การเดินสายไฟแบบร้อยสายผ่านท่อพีวีซีหรือท่อเหล็กแบบยึดผนัง (ไม่ได้ซ่อนฝังไว้ใต้ผนัง)

     จากข้อมูลความหมายของการเดินสายไฟแบบฝังและการเดินสายไฟแบบเดินลอย โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอนำเสนอการเดินสายไฟแบบเดินลอย ในหัวข้อ "แนะนำรางเดินสายไฟในอาคารแบบลอย" ซึ่งปัจจุบันได้มีความนิยมกันเป็นอย่างมากสำหรับงานอาคาร เช่น คอนโดมิเนียม, ทาวน์โฮม เป็นต้น เนื่องจากการเดินสายไฟแบบลอยจะใช้ระยะเวลาติดตั้งและงบประมาณน้อย เพราะขั้นตอนติดตั้งไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ยึดและเก็บสายไฟเข้าในรางก็เรียบร้อย หากเกิดการชำรุดเสียหายก็สามารถตรวจเช็ค ปรับปรุง ซ่อมแซม เพิ่ม-ลดสายไฟภายหลังได้สะดวก ไม่ต้องรื้อผนัง  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

     ตัวอย่างการเดินสายไฟแบบลอยภายในอาคาร, คอนโดมิเนียม

     
จากรูปตัวอย่างการเดินสายไฟแบบลอยภายในอาคาร, คอนโดมิเนียม ประกอบด้วยอุปกรณ์เสริมของรางเดินสายไฟ ดังนี้ 

No. Picture Model Name Description
1 Pabio IP65 ตู้คอนซูมเมอร์ ตู้คอนซูมเมอร์, ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า
2 LAN ฝาปิดท้ายแบบลอย ฝาปิดสำหรับปิดท้ายของรางกันฝุ่นหรือแมลงเข้าในราง
3 NTAN กล่องรวมสายไฟ กล่องรวมสายไฟ สำหรับทำเป็นทางแยก 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง ได้
4 SDN กล่องรวมสัญญาณพร้อมตัวคั่น กล่องรวมสัญญาณพร้อมตัวคั่นสายไฟ มีช่องสำหรับแบบโซนของสายเพื่อความเป็นระเบียบในกล่อง
5 SEP-N ตัวแยกสายในราง ใช้เพื่อแยกสายให้ดูเป็นระเบียบ
6 CS-G 40 ฝาปิดตัวกั้น ฝาปิดใช้ปิดร่วมกับตัวแยกสายในรางเพื่อปิดแบ่งแยกสาย
7 CSA-3N ตัวครอบกล่องสวิตช์ กล่องครอบสวิตช์ใช้ร่วมกับกล่องสวิตช์ทั่วไปได้
8 NEAV มุมด้านนอก ข้องอมุมด้านนอกใช้ร่วมกับราง
9 NIAV มุมด้านใน ข้องอมุมด้านในใช้ร่วมกับราง
10 NPAN  มุม 90 องศา มุม 90 องศา ใช้ร่วมกับราง
11 SA-MN เข็มขัดรวบสาย เข็มขัดรวบสายใช้รวบสายในรางเพื่อความสวยงาม
12 SAN-3 กล่องใส่อุปกรณ์ กล่องใส่สวิตช์และเต้ารับสามารถใช้กับหน้ากากที่มีขายทั่วไปได้
 
     ข้อดีของการใช้รางเดินสายไฟในอาคารแบบลอย
     • เมื่อเกิดปัญหาของระบบไฟฟ้าสามารถซ่อมแซม ปรับปรุง แก้ไขได้ง่าย
     • ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เมื่อเทียบกับชนิดฝังท่อ
     • มีความสวยงามเข้ากับอาคาร
     • เหมาะสำหรับงานเดินไฟในออฟฟิศหรืออาคารคอนโดที่มีการรีโนเวทใหม่
     • มีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ให้เลือก เช่น ฉากเข้ามุมนอก (NEAV), ฉากเข้ามุมใน (NIAV), ข้องอ 45 องศา (NPAN), กล่องพักสาย (NTAN), กล่องใช้กับเต้ารับหรือสวิตช์ (SAN-3), ฉากกั้นในราง (SEP-N) 


     การใช้รางเดินสายไฟในอาคารแบบลอยเหมาะสำหรับ
     • คอนโดมิเนียม, โรงแรม, อพาร์ทเมนท์, ที่พักอาศัย, อาคาร, สำนักงาน ฯลฯ

     นอกจากนี้ยังมีรางเก็บสายไฟ (Wiring Duct) ประเภทที่ใช้สำหรับเก็บสายไฟประเภทต่าง ๆ เช่น สายไฟฟ้า, สาย LAN, สายใยแก้วนำแสง, สายโทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อเก็บสายไฟให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สำหรับงานเดินสายไฟในตู้คอนโทรล (MDB), ตู้ไฟฟ้า หรือการเดินสายไฟภายในอาคาร ด้วยการใช้งานที่เหมาะสมกับการเก็บสายทุกประเภท สามารถเลือกใช้งานได้ทุกพื้นที่ มีความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง พร้อมทั้งลักษณะที่หลากหลายให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ดังนี้

Wiring Duct แบบโปร่งพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเดินสายไฟงานคอนโทรลในตู้ MDB Wiring Duct แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเก็บสายไฟเพื่อป้องกันฝุ่นหรือน้ำ, น้ำมัน เป็นต้น Wiring Duct แบบทึบใช้ร่วมกับ (Cable Gland) เหมาะสำหรับงานเดินสาย ที่ใช้ร่วมกับท่อสายไฟหรืองานลิฟต์ที่ต้องการแยกสายไฟในแต่ละชั้น
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน



Visitors: 41,341