การใช้ PLC+HMI ในระบบควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ


     การใช้ PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)  ในระบบควบคุมการผลิตเป็นการนำเอาเทคโนโลยี PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) มาใช้ในการควบคุมและจัดการระบบการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลาง โดยมีการนำเข้าข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตมาวางแผน, ประมวลผล, และวิเคราะห์ เช่น โครงสร้างหรือรูปแบบการผลิต, สิ่งที่ต้องผลิต, ระยะเวลาการผลิต, และการบริหารจัดการการผลิต เป็นต้น เพื่อใช้ในการกำหนดโครงสร้างและโปรแกรมการควบคุมระบบผลิตของ PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)
 
     การใช้ PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)  ในระบบควบคุมการผลิตมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความผิดพลาดในการผลิต และช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ เช่น การควบคุมเครื่องจักรและระบบสายพานมอเตอร์ (Conveyor Motor), การควบคุมการผลิตโดยใช้หลายหน้าจอแสดงผลและการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น  นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการแก้ไขปัญหาของระบบผลิตในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดหรือความไม่เป็นไปตามแผนการผลิตได้อีกด้วย
 
ตัวอย่างไลน์การผลิตที่ควรมีการควบคุมการผลิตด้วย PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)

         เพื่อให้การใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)   ในระบบควบคุมการผลิตเป็นไปได้โดยมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อการใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบและปรับปรุงระบบควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยควรทำการตรวจสอบและดูแลรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ และมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีที่เกิดความผิดพลาด โดยผู้อ่านสามารถพบเห็น PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) บ่อยในงานภาคอุตสาหกรรม โดยในวันนี้ผู้บรรยายขอยกตัวอย่าง PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)   ยี่ห้อ Unitronics ดังนี้
 
M91 MICRO-OPLCTHJAZZMICRO-OPLCTH SAMBA
V560 COLOR OPLCTHV570 COLOR OPLCTHV1040 COLOR OPLCTH
V1210 COLOR OPLCTHV700 COLOR OPLCTHUNISTREAM COLOR OPLCTH

        จากที่ทางผู้บรรยายได้กล่าวถึงประโยชน์ของการนำ PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)   มาใช้ในระบบควบคุมการผลิตงานภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นนั้น ก่อนการวางระบบการควบคุมการผลิตด้วย PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)  จะต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง สามารถแนะนำและอธิบายได้ตามขั้นตอนดังนี้
 
การวางแผนขั้นตอนระบบการควบคุมการผลิตด้วย PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)
 
         ปัจจุบันการพัฒนาและวางแผนระบบกระบวนการผลิตเพื่อให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเป็นสิ่งสำคัญ โดยปัจจุบันเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก การประยุกต์ใช้นั้นง่ายขึ้น และทำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ลำดับขั้นตอนในการวางแผนการควบคุมกระบวนการผลิตด้วย PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface)  อาจสามารถแบ่งได้ดังนี้
 
         ลำดับขั้นตอนแรก คือ ประเมินและวิเคราะห์จากการทำงานระบบปัจจุบัน ว่าใช้แรงงานหรือกึ่งอัตโนมัติ และนำข้อมูลที่เก็บได้นำมาวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง เรื่องปริมาณ และความเร็วการผลิต โดยต้องคำนึงถึงผลลัพธ์การผลิต และประสิทธิภาพในการทำงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ทีมงานต้องวิเคราะห์ถึงในระบบมีอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบบ้าง อาทิ ด้านภาค Input เช่น Photoelectric SensorProximity SwitchEncoderLoad Cell เป็นต้น ภาค Control เช่น ControllerCounterIndicatorTimer เป็นต้น ภาค Output เช่น Tower Light เป็นต้น
 
          ขั้นตอนที่สอง คือ การเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล เพื่อติดตาม และควบคุมกระบวนการผลิตจากเอกสารหรือคน เป็นแบบ Digital และ Real Time เพื่อตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
 
          ขั้นตอนที่สาม คือ เมื่อทราบข้อมูลจากการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์จากขั้นตอนที่สองแล้ว ให้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดการ โดยนำ PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) มาประยุกต์ใช้ด้วยการออกแบบโปรแกรมในการควบคุม และเชื่อมโยง Big Data และข้อมูลภายนอกและภายใน ให้เหมาะสม
 
          จากลำดับขั้นตอนในการวางแผนการควบคุมกระบวนการผลิตด้วย PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ที่ทางผู้บรรยายได้กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต การผสมเคมีในการทำสารเพิ่มคุณภาพในดิน ดังนี้
 
ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต การผสมเคมีในการทำสารเพิ่มคุณภาพในดิน
 
          จากรูป เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมควบคุมชุดจ่ายเคมีบนสายพาน โดยสามารถเลือกสูตรการผลิตได้ ถึง100 สูตร รวมถึงมีการใช้ Function สำเร็จรูปในโปรแกรม PLC (Programmable Logic Controller) เพื่อง่ายต่อการเขียนโปแกรม รวมไปถึงยังมีการเก็บข้อมูลด้วย Database และที่สำคัญกว่านั้น สามารถดูผ่านมือถือได้ฟรีจากที่ไหนก็ได้

          ดังนั้นจากที่ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต  หากมีการวางแผนระบบอย่างดี ผู้บรรยายมั่นใจได้ว่าการนำ PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) มาใช้งานนั้น จะมีข้อดี และเกิดประโยชน์ กับกระบวนในการผลิตอย่างแน่นอน โดยสามารถบอกถึงข้อดี และประโยชน์ในการใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต  ดังนี้

• ลดความสูญเสียจากการรอคอย
            การรอคอยจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติงานกำลังรอวัสดุหรือให้คนอื่นทำงานจนเสร็จ การหยุดทำงานของเครื่องจักร เป็นอีกตัวอย่างของการรอคอย การปรับสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานและเครื่องจักรทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ไม่ควรให้ผู้ปฏิบัติงานหรือเครื่องจักรทำงานหนักเกินไปหรือว่างเกินไป ด้วยการลดการหยุดทำงานของเครื่องจักร การปรับสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) จะช่วยแก้ปัญหาการรอคอยได้

• ลดปัญหาสินค้าคงคลัง
           การผลิตที่มากเกินไปส่งผลให้มีสินค้าคงคลังมากเกินความจำเป็น ดการผลิตเป็นมาตรฐานซึ่งหมายความว่า จะช่วยลดการสะสมหรือสินค้าคงคลังส่วนเกิน โดยการลดเวลาความสูญเปล่า การปรับสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการดำเนินงาน WIP อยู่และด้วยการเพิ่มเวลาในการผลิตให้ใกล้เคียงกับ Takt Time มากขึ้นจึงมั่นใจได้ว่าการส่งมอบของให้ลูกค้าจะตรงเวลาอย่างแน่นอน

• ลดความแปรปรวนภายในสายการผลิต
           การใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ช่วยลดความแปรปรวนภายในสายการผลิต สายการผลิตที่สมดุลมีความเสถียรและยืดหยุ่นมากพอที่จะปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเวลาของ Takt Time การดำเนินการสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วผ่านการปรับสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสายการผลิตที่สมดุลนั้นคือ สามารถคาดการณ์ได้สำหรับการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับในการเพิ่มอัตราการผลิต

• ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไร
           การใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ทำให้เกิดการสร้างสมดุลของไลน์ผลิตที่สมบูรณ์แบบ ช่วยให้พนักงานและเครื่องจักรที่ทำงานกันได้อย่างลงตัว เครื่องจักรทั้งหมดใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เรียกอีกอย่างนึงว่ากำลังคนและกำลังการผลิตของเครื่องจักรนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดของกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้อยลงและผลกำไรที่มากขึ้น
 
การประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller + Human Machine Interface) ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต
• อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
• อุตสาหกรรมพลาสติก
• เครื่องควบคุมการผลิดสารเพิ่มคุณภาพในดิน
• เครื่องพ่นสีเฟอร์นิเจอร์
• มอนิเตอร์ค่าสัญญาณโรงงานปลาปัตตานีฃ
• อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
เครื่องควบคุมการผลิดสาร
เพิ่มคุณภาพในดิน
เครื่องพ่นสีเฟอร์นิเจอร์
มอนิเตอร์ค่าสัญญาณโรงงานปลาปัตตานี
Visitors: 41,361